Menu
Share

       We are Supplier of Corrugated/Profile Sheets, Sandwich Panel (Roof & Wall) Z & C Purlins, Decking Sheets, Steel Hoarding, Flashing & Accessories and is dedicated to provide high quality products and technical supports in Thailand.

หน้าแรกความรู้เมทัลชีท

CEO2With vision and commitment by company Executive of Maethongbai Steel co.,ltd to create an opportunity for Thai's people that knowledgeable to work together and develop the goods with high quality for the fastest service and be honest with our customers with reasonable price and promote employee quality of life and Thai's society to be greater and better.

 

Construction industry have got a fast develop so we concentrate about our production of metal sheet roof that be durable strong economical and comfortable easy to set up and good for environmental from attend of quality and service of business administration Quality ISO9001:2008.  

 

 Maethongbai Steel co.,ltd is a company of Thai's people 100% with authorized capital 20,000,000 Baht pay up register to be legal person according to civil and commercial code law business registration no.0105555160991 company name Maethongbai Steel co.,ltd and taxpayer registration no. 0105555160991 on producing factory area about 2.767 acre that serviceable customer in construction business and entire metal sheet roof.  www.mtbholding.com

 

รูปลอนหลังคา เมทัลชีท ชนิดต่างๆ

รปลอนหลงคาชนดตางๆ

เปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ทำหลังคา ระหว่างแผ่นเมทัลชีท กับวัสดุอื่นๆ

ข้อมูลคร่าวๆสำหรับท่านที่ต้องการทราบว่าวัสดุที่ใช้ทำหลังคา ที่เป็นแผ่นเมทัลชีท มีความแตกต่างกับวัสดุอื่นๆอย่างไร ในมุมมองต่างๆกัน

ราคาของวัสดุที่ใช้ทำหลังคา

- แผ่นหลังคาเมทัลชีทราคาถูกกว่า เมื่อคิดรวมโครงหลังคาแล้ว เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทมีน้ำหนักที่เบา ดังนั้นจึงสามารถประหยัดในเรื่องของการสร้างโครงหลังคาที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก มากมายนัก

- กระเบื้องคอนกรีต แพงกว่า และใช้โครงหลังคามากกว่า ใช้ฐานรากมากกว่า
- โพลี ราคาไม่แพงเมื่อคิดรวมโครงหลังคาแล้ว
- ดีไลท์ ราคาแพงกว่าโพลี เมื่อคิดรวมโครงหลังคาแล้ว

การออกแบบหลังคา ให้มีความลาดชัน

- แผ่นหลังคาเมทัลชีท สามารถออกแบบให้มีความลาดชันได้ถึง 5 องศา
- กระเบื้องคอนกรีต ต้องมีความลาดชัน ไม่น้อยกว่า 15 องศา
- หลังคาโพลี ขึ้นอยู่กับแบบที่เขียนไว้ ถ้าออกแบบมาโค้ง จะทำองศาเท่าไรก็ได้ แต่ถ้าออกแบบมาตรง ต้องให้ลาดเอียงมาด้านหน้า 10 องศาขึ้นไป เพื่อกันน้ำย้อนขึ้น และต้องยิงซีลีโคนที่เส้นดีแคปทุกเส้น
- ดีไลท์ ต้องลาดเอียงมาด้านหน้ามากกว่า 10 องศาขึ้นไป แล้วต้องทับซ้อนลอน 2 ลอนจะแก้ปัญหาน้ำย้อนได้ พร้อมทั้งต้องยิงซีลีโคนที่เส้นดีแคปทุกเส้น

คุณสมบัติด้านความร้อน และแสงสว่าง

- หลังคาเมทัลชีท (ถ้าบุฟอยด์ด้านล่าง) จะสามารถกันความร้อน และสะท้อนความร้อนได้ดีกว่า แต่จะทึบแสง ซึ่งอาจต้องสอดแทรกแผ่นโปร่งใสบางช่วง เพื่อช่วยในการเพิ่มแสง และควรยิงซีลีโคนที่แผ่นใสซ้อนอยู่ เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม
- หลังคากระเบื้องคอนกรีต สะสมความร้อน ทำให้ร้อนกว่า
- หลังคาโพลี ต้องเลือกเป็นแบบ IR เท่านั้น จะสะท้อนความร้อนและโปร่งแสงสว่าง (สำหรับยี่ห้อ TN-ได้หวัน) แต่ถ้าเป็นยี่ห้อ POLYGAL ของอิสราเอล จะมีถึง 6 สี คือสีเงิน เขียว ขาว น้ำเงิน ม่วง เหลือง ดำ (ชนิดสีเป็นอมนมมุกๆ ) ให้แสงสวยประกายทองนิดๆ
- ดีไลท์ มี 4 สี สีที่แสงผ่านน้อยที่สุดคือ สีชา รองลงมาคือ สีฟ้า และตามด้วยสีขาวมุกและเขียวอ่อนๆมุก สะท้อนความร้อนได้ดีที่สุดในกลุ่มหลังคาโปร่งแสง แสงส่องผ่านนวลสบายตา

ความคงทนถาวร

- หลังคาเมทัลชีท ความคงทน มากกว่า 10 ปี
- กระเบื้องคอนกรีต เริ่มแตกร้าวหลังการใช้งาน 5 ปี
- หลังคาโพลี คงทนประมาณ 10 ปี
- หลังคาดีไลท์ คงทนประมาณ 10 ปี

ความสามารถในการกันฝน

- หลังคาเมทัลชีท ฝนตกเสียงไม่ดังมากถ้ามีการบุฟอยด์ด้านล่าง สามารถกันฝนได้ดี เนื่องจากรอยต่อน้อยและแนบสนิทกว่า
- กระเบื้องคอนกรีต มักมีปัญหาเรื่องน้ำรั่ว จากหลายสาเหตุ
- หลังคาโพลี รอยต่อน้อยและสนิทตามเส้นดีแคป แต่มีเสียงดังมาก เวลาฝนตก และเกิดตะกอนสะสมเป็นตะไคร่เมื่อใช้เป็นเวลานาน
- หลังคาดีไลท์ ต้องซ้อนลอน 2 ลอน และยิงซีลีโคนตามเส้นดีแคป ฝนตกไม่เสียงดังเท่าไร และไม่เป็นตะไคร่

ข้อดีข้อเสียของหลังคาเมทัลชีท

ข้อดีข้อเสียของหลังคาเมทัลชีท

ปัจจุบันนี้วัสดุมุงหลังคานอกจากวัสดุประเภท กระเบื้อง ชนิดต่าง ๆ แล้ว เรายังมีวัสดุชนิดใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกวันอีกชนิดนึงอ่ะนะคะ  วัสดุชนิดนั้นก็คือ แผ่นเหล็กรีดลอน หรือ เมทัลชีท นั่นเองค่ะ

แผ่นเหล็กรีดลอน หรือ Metal Sheet คืออะไร ?

Metal Sheet มาจากคำภาษาอังกฤษสองคำค่ะ นั่นคือ Metal (เมทัล) และ Sheet (ชีท) เมทัลแปลกว่า โลหะ หรือเหล็ก ชีท แปลว่า แผ่น เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงแปลว่า แผ่นโลหะ หรือแผ่นเหล็ก นั่นเองอ่ะนะคะ

แผ่นเหล็กรีดลอน หรือ Metal Sheet ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันค่ะ คือ

1. แผ่นเหล็กอาบสังกะสีเคลือบสี ได้จากการนำแผ่นเหล็กมาอาบสังกะสีแล้วเคลือบสีอีกทีหนึ่ง (Precoated Galvanized Steel Sheet) 

2. แผ่นเหล็กเคลือบอลูซิงค์ ได้จากการนำแผ่นเหล็กมาอาบอลูมิเนียมและสังกะสี

ซึ่งทำให้ได้ แผ่นเหล็กที่ทนต่อสภาพอากาศและทนต่อการกัดกร่อน แล้วนำมารีดขึ้นรูปเป็นลอน ใช้เป็นวัสดุสำหรับมุงหลังคา ทำฝ้าและผนัง ซึ่งจะมีข้อดีหลายอย่างเมื่อเทียบกับหลังคากระเบื้องทั่วไป

ข้อดีของการใช้วัสดุมุงหลังคา Metal sheet คือการที่มี น้ำหนักที่เบาค่ะ ดังนั้น จึงสามารถประหยัดในเรื่องของโครงสร้างของหลังคาได้ และที่สำคัญคือสามารถทำการมุงได้รวดเร็ว อีกทั้งยังมุงหลังคาที่มี รูปร่างโค้งงอได้ดีอีกด้วย และเนื่องจากแผ่นของ Metal Sheet นั้น เวลามุงจะเป็นแผ่นยาว จึงมีรอยต่อน้อยมาก มีการรั่วซึมที่น้อยกว่าหลังคากระเบื้อง ทำให้สามารถออกแบบหลังคาที่มีความลาดเอียงต่ำได้อ่ะนะคะ
  
ข้อเสียของการใช้วัสดุมุงหลังคา Metal sheet นั้น คือเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูงค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ เกรดของแผ่น Metal sheet ด้วย ถ้าเป็นวัสดุที่เกรดดีราคาจะสูง แต่คงทนกว่าเกรดที่ต่ำกว่า ผุ กร่อนยากกว่า เมทัลชีทเกรดต่ำนั้น ราคาเมทัลชีทถูกก็จริง แต่ก็จะผุกร่อนง่ายเช่นกันอ่ะนะคะ เรื่องเสียงและความร้อน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้ต้องมีการทำฉนวนเพิ่มเติมค่ะ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้แบบพ่นไปใต้หลังคา พ่นบนหลังคา หรือแบบที่มีฉนวนแนบมากับแผ่น Metal sheet ก็ได้ การระบายน้ำ ขึ้นอยู่กับความลาดเอียงของหลังคา ส่วนการซ่อมแซมนั้นในกรณีรั่วเป็นบางจุดนั้นซ่อมไม่ยากค่ะ เพียงแค่ใช้อะคลีริคอุดบริเวณที่รั่วซึมเท่านั้น แต่หากเป็นกรณีที่แผ่นมีการผุชำรุดนั้นจะยุ่งยากขึ้น เพราะต้องเปลี่ยนทั้งแผ่นยาว และต้องทำการรื้อทั้งแผ่นต่างจากกระเบื้องซึ่งแผ่นเล็กกว่าการเปลี่ยนแผ่นจะ ทำได้ง่ายกว่าอ่ะนะคะ

ข้อเสียอีกประการหนึ่งของเมทัลชีทก็คือการมีปัญหาเรื่องเสียงดังเมื่อฝนตก กระทบ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ได้มีการแก้ไขด้วยการบุด้วยโฟม หรือฉนวนกันความร้อน หรือการทำฝ้าเพดานเพื่อกันเสียงอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งก็ช่วยลดปัญหาเรื่องเสียงดังจากน้ำฝนลงไปได้บ้างเล็กน้อยน่ะนะคะ

เตรียมพร้อมความรู้ก่อนซื้อเมทัลชีท

ข้อควรรู้ก่อนซื้อแผ่นหลังคาเมทัลชีท

            ปัจจุบันแผ่นหลังคาเมทัลชีท มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบรนด์ และแหล่งที่มา ซึ่งการหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่ สำคัญ ที่จะทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่สิ่งสำคัญหลักๆ ที่ทางลูกค้าควรรู้ มีดังนี้

 

ลักษณะรูปลอนหลังคา
           สิ่งแรกที่ลูกค้าควรเลือก คือ รูปลอน และสีแผ่นหลังคาเมทัลชีท ซึ่งทางลูกค้าควรเลือกรูปลอน และสีที่ชอบ ให้ตรงตามจุดประสงค์ และความต้องการ เช่น ต้องการให้ดูเด่นสะดุดตา ก็ควรเลือกสีสันที่โทนร้อน หรือสว่างสะดุดตา แต่ถ้าต้องการให้กลมกลืนกับธรรมชาติก็ควรเลือกสีทึม หรือสีโทนอ่อน เป็นต้น

ผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย

           ลูกค้าควรเลือกผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีบริษัท และที่อยู่ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องสินค้าไม่ได้สเป็กตามที่ลูกค้าต้องการ และหากเกิดปัญหาจะได้ติดต่อ และเครมสินค้าได้

วัตถุดิบ

           วัตุดิบในที่นี้ หมายถึง เหล็กที่ใช้ในการผลิตมาเป็นหลังคา ว่ามีแหล่งที่มาจากประเทศอะไร แบรนด์ชื่ออะไร เหล็กต่างประเทศ หรือเหล็กในประเทศ และเกรดของเหล็กมีมาตรฐานอยู่ในระดับไหน

ราคา

           คุณภาพต้องเหมาะสมกับราคา ความหมายคือ เมื่อเรารู้แล้วว่าวัตุดิบที่นำมาผลิตเป็นหลังคาเมทัลชีทนั้น มาจากแหล่งไหน และแบรนด์อะไร เราก็ควรเปรียบเทียบราคาจากหลายแหล่ง เพื่อให้ทราบราคากลางที่เหมาะสม ไม่แพง และไม่ราคาถูกจนเกินไป

การบริการ

           การบริการ ก็เปรียบเสมือนบริการเสริมอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะถ้าลูกค้าได้รับการบริการที่ดีจากผู้จำหน่าย ตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะเป็นสิ่งที่ทำยืนยันความมั่นใจได้ว่า ลูกค้าจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ ไม่แค่การขายเสร็จสิ้นเท่านั้น แต่จะได้รับบริการที่ดีหลังการขายด้วยเช่นกัน

 

 

การสั่งผลิตหลังคาเมทัลชีท

 

          หลังจากที่ลูกค้าได้เลือกรูปลอนหลังคา, สีหลังคา, ประเภทเหล็ก, ความหนา และผู้จัดจำหน่าย ตามหัวข้อ ข้อควรรู้ก่อนซื้อแผ่นหลังคาเมทัลชีท มาแล้วนั้น สิ่งต่อไปที่ต้องเตรียมเพื่อสั่งผลิตหลังคาเมทัลชีท ดังต่อไปนี้

 

วัดพื้นที่หลังคา

         ขั้นตอนแรกก่อนสั่งผลิต คือ ลูกค้าต้องวัดพื้นที่หลังคาที่ต้องการ (กว้างXยาว) เช่น หลังคาร้านค้า หน้ากว้าง 8 เมตร และยาว 9 เมตร เป็นต้น

รูปทรงหลังคา

            รูปทรงหลังคานั้นขึ้นอยู่ตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้นลูกค้าต้องแจ้งความประสงค์ว่าต้องการหลังคารูปแบบไหน เช่น หลังคาเพิงหมาแหงน, หลังคาจั่ว หรือ หลังคาโค้ง เป็นต้น เพราะถ้าทราบรูปทรงของหลังคา แล้วก็จะได้คำนวณ ความยาว และจำนวนของแผ่นหลังคาได้ถูกต้อง

คำนวณจำนวนหลังคา

             เมื่อทราบขนาดพื้นที่ และรูปทรงหลังคาที่ต้องการแล้วก็สามารถคำนวณ ความยาว และจำนวนของแผ่นหลังคาที่ต้องใช้ได้แล้ว เช่น หลังคาเพิงหมาแหงน กว้าง 8 เมตร และยาว 9 เมตร จะต้องใช้หลังคาหน้ากว้าง76ซม. ความยาว 9 เมตร จำนวนทั้งหมด 12 แผ่น เป็นต้น ในกรณีที่ต้องการให้ติดฉนวนกันความร้อนต้องแจ้งให้ทางผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายให้ทราบด้วย จะได้ไม่เสียเวลานำกลับมาติดใหม่

คำนวณจำนวนแผ่นปิดครอบ

             แผ่นปิดครอบนั้น จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่า มีความจำเป็น หรือต้องการเพื่อไปตกแต่งปิดรอยต่อหรือไม่ ซึ่งแผ่นปิดครอบนั้นสามารถพับได้ตามรูปแบบที่ต้องใช้ตรงตามหน้างาน แต่ถ้าลูกค้านึกไม่ออกก็สามารถไปดู และเลือกสั่งแบบครอบมาตรฐานได้ ตามตัวอย่าง แผ่นหลังคายาว 9 เมตร ใช้ครอบ ข้าง ยาว 3.10 เมตร ทั้งหมด 6 แผ่น (ด้านซ้าย 3 แผ่น ด้านขวา 3 แผ่น)

อุปกรณ์เสริม

             สกรูยิงหลังคา เป็นอุปกรณ์เสริมอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นมาก ในการติดตั้งแผ่นหลังคา วิธีการคำนวณของจำนวนสกรู ก็ขึ้นอยูกับเทคนิคของแต่ล่ะท่าน บางท่านก็นับจำนวนแป บางท่านก็นับจำนวนแผ่น และสันลอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรคำนวณสกรูให้เหลือมากกว่า ที่ใช้จริง เพราะเวลาปฎิบัติงานจริงนั้น สกรูย่อมหล่นเวลาติดตั้ง ซึ่งถ้าคำนวณแบบพอดี จะทำให้ต้องเสียเวลา เพื่อมาซื้อสกรูใหม่ได้


การขนส่ง
             การขนส่งเป็น สิ่งสำคัญมาก เพราะหลังคาเมทัลชีทสามารถผลิตได้ยาวตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ในบางกรณีนั้นสั่งแผ่นหลังคายาวมาก ซึ่งก็หมายความว่ารถที่ใช้ขนส่งนั้นก็ต้อง เป็นรถใหญ่ที่มีกะบะท้ายยาว เช่น รถ6ล้อ, รถเทลเลอร์ หรือ รถกะบะทำพิเศษมีเหล็กโลว์บาร์เพื่อ รองรับแผ่น เพราะถ้าใช้รถผิดประเภท หรือรถกะบะสั้นมาบรรทุกนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายขณะบรรทุกได้ เช่น แผ่นบุบ, แผ่นหัก หรือบางกรณี อาจขูดสีรถของลูกค้าจนถลอกเลยก็มี ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ลูกค้าควรใช้รถให้ถูกประเภท หรือรถรับจ้างขนย้ายแผ่นหลังคาเมทัลชีทโดยเฉพาะ

 

เปรียบเทียบ หลังคาเมทัลชีท กับ หลังคาลอนคู่

หลังคาลอนคู่ VS หลังคาเมทัลชีท

 มุงหลังคาบ้านด้วย กระเบื้องลอนคู่ หรือ เมทัลชีท แบบไหน ทนกว่า กันน้ำรั่วดีกว่า และถูกกว่า

หากพูดถึงกระเบื้องลอนคู่ หลาย คนก็คงรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะว่ากระเบื้องลอนคู่จัดว่าเป็นกระเบื้องที่นิยมใช้มุงหลังคาบ้านสูงสุด อีกตัวหนึ่งก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นกระเบื้องที่มีราคาถูก และมีสีสันให้เลือกมากมาย เลยไม่น่าแปลกใจที่มีคนใช้เยอะขนาดนี้

แต่ปัจจุบันก็มีวัสดุที่ใช้สำหรับการมุงหลังคาหลากหลายยิ่งขึ้น โดยวัสดุแต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป "เมทัลชีท(Metal sheet)" ก็เป็นอีกหนึ่งในวัสดุที่นิยมนำมามุงหลังคาบ้านอีกตัวหนึ่งที่ปัจจุบันมี บ้านเป็นจำนวนมากได้หันมามุงหลังคากันด้วยวัสดุชนิดนี้ ทีนี้ก็เลยเกิดคำถามที่น่าสนใจขึ้นมาว่า หากเราต้องการมุงหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาบ้านของเรามาเป็นหลังคาเมทัลชีทบ้างมันจะดีหรือเปล่า? มันจะทนมั๊ย? ราคาแพงหรือเปล่า? แล้วเรื่องการรั่วซึมล่ะจะเป็นยังไง? หากต้องนำมาเปรียบเทียบกับหลังคาลอนคู่

 

หลังคาลอนคู่ VS หลังคาเมทัลชีท  แบบไหนถูกใจบ้านที่สุด

 

น้ำหนักและโครงหลังคา

     หากพูดถึงเรื่องน้ำหนักกันแล้ว กระเบื้องลอนคู่นั้นจะมีน้ำหนักมากกว่าเมทัลชีทหลายเท่า กระเบื้องลอนคู่แผ่นหนึ่งน้ำหนักประมาณ 6-7 กิโลกรัม/แผ่น ในขณะที่เมทัลชีทนั้นเป็นแผ่นเหล็กที่ถูกรีดออกมาให้มีความบางมากๆ ทำให้มีน้ำหนักเบา หากเทียบกับการปูหลังคาบ้านในพื้นที่ที่เท่ากันแล้ว กระเบื้องลอนคู่จะมี น้ำหนักมากกว่าอยู่แล้ว เมื่อมีน้ำหนักที่มากกว่า ทำให้โครงหลังคาที่ใช้ ก็ต้องมีความแข็งแรงมากว่าด้วยเช่นกัน เพื่อใช้แบบรับน้ำหนักของกระเบื้องเป็น 100 แผ่น ทำให้ต้องเสียค่าวัสดุสำหรับโครงสร้างหลังคามากกว่าเมทัลชีทอย่างไม่ต้อง สงสัย

ความรวดเร็วในการปูหลังคา

     ความรวดเร็วในการปูหลังคานั้น การปูหลังคาด้วยเมทัลชีทจะรวดเร็วกว่ามาก เพราะเราแค่เอาแผ่นเมทัลชีทที่เป็นแผ่นยาวและใหญ่มาปู และยิงติดกับโครงหลังคา ใช้เวลาแป๊บเดียวก็เสร็จแล้ว เทียบกับการปูหลังคาบ้านด้วยกระเบื้องลอนคู่ที่ต้องวางซ้อนกันทีละแผ่น แถมบางทียังต้องมาเสียเวลาตัดมุมกระเบื้องเพื่อกันน้ำไหลย้อน ขึ้นมาอีก ก็ทำให้ใช้เวลาการปูที่มากกว่าเมทัลชีทอย่างแน่นอน

การรั่วซึมของหลังคา

     ความจริงแล้วเรื่องการรั่วซึมของน้ำเวลาที่ฝนตกนั้น ก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้เท่าๆกัน ขึ้นอยู่กับการปูของช่างมากกว่า ว่าจะเอาใจใส่ และระเอียดรอบคอบมากน้อยแค่ไหน ถ้าเจอช่างที่ทำงานแบบชุ่ยๆ ไม่ว่าจะลอนคู่หรือเมทัลชีท เจอฝนตกหนักๆก็รั่วก็ซึมได้เหมือนกัน แต่ถ้าจะให้คะแนนในกรณีที่ช่างทำงานออกมาได้ดีเท่ากัน ขอให้เมทัลชีทเป็นผู้ชนะก็แล้วกัน เพราะการปูหลังคาบ้านด้วยเมทัลชีทนั้นจะมีรอยต่อที่น้อยกว่าการปูหลังคาบ้าน ด้วยกระเบื้องลอนคู่ ที่ต้องปูซ้อนกันเป็นแผ่นๆไป ความผิดพลาดในการปูจึงมีมากกว่าโอกาสการรั่วซึมของกระเบื้องลอนคู่จึงมี มากกว่านั่นเอง

ความทนทาน อายุการใช้งาน
     ความทนทาน หรืออายุการใช้งานระหว่างหลังคาลอนคู่กับหลังคาเมทัลชีทนั้น ถ้าตามปกติแล้วหลังคาที่ปูด้วยกระเบื้องลอนคู่จะมีความทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ามาก ถ้าไม่มีใครไปเดินเหยียบ หรือมีของอะไรหนักๆตกลงมาใส่ หลังคาจากกระเบื้องลอนคู่ก็คงอยู่ได้นานเป็น 30-40 ปี แต่ที่จะไปก่อนน่าจะเป็นโครงหลังคาซะมากกว่า ส่วนหลังคาเมทัลชีทนั้นอายุการใช้งานจะสั้นกว่ากระเบื้องลอนคู่ หากสารที่เคลือบอยู่ที่ผิวโลหะเกิดหลุดล่อนออกมา ความคงทน และคุณสมบัติต่างๆ เช่น การสะท้อนความร้อน ของเมทัลชีทก็จะลดน้อยลงไปเยอะ แต่ก็ไม่ต้องห่วงถึงจะบอกว่าน้อยกว่าลอนคู่ แต่การใช้งานก็เป็น 10 ปีขึ้นไป ซึ่งก็จัดว่านานพอสมควร

 การป้องกันความร้อน

     ในความรู้สึกของผม ผมว่าหลังคาเมทัลชีทจะทำให้บ้านร้อนมากกว่าหลังคากระเบื้องลอนคู่ จาก การที่ได้ลองสัมผัสมา เพราะเมทัลชีทนั้นจะจัดการเร่องความร้อนด้วยการสะท้อนความร้อนกลับไป ซึ่งก็สะท้อนไปได้บางส่วน ส่วนความร้อนที่เหลือก็จะทะลุลงมาภายในบ้าน ซึ่งความร้อนที่เหลือๆมาก็ไม่ใช่เล่นๆ แต่ก็มีวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็คือ การติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเข้าไปอีกชั้น ซึ่งก็จะช่วยลดความร้อนไปได้มาก แต่สำหรับกระเบื้องลอนคู่นั้นมันก็จะดูดซับความร้อนไว้ในตัวกระเบื้องบาง ส่วน และก็จะแผ่ความร้อนเข้ามายังตัวบ้านเหมือนกัน ซึ่งก็จะร้อนน้อยกว่าเมทัลชีทแบบไม่ใส่ฉนวน แต่เดี๋ยวนี้เค้ามีกระเบื้องที่เคลือบสารสะท้อนแสงแดด ซึ่งสามารถช่วยสะท้อนความร้อนออกไปได้ส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหลังคาลอนคู่แบบนี้จะทำให้บ้านเย็นกว่าแน่นอน

ความดังเวลาฝนตก

     เรื่องนี้เมทัลชีทนั้นชนะขาดแน่นอนครับ เพราะเมทัลชีททำมาจากโลหะ เวลาฝนตกหนักๆแรงๆ เสียงย่อมดังกว่ากระเบื้องลองคู่อยู่แล้วครับ แต่เค้าก็แก้ปัญหาด้วยการใส่ฉนวนกันความร้อนเข้าไปอีกชั้น ก็สามารถช่วยลดการเกิดเสียงดังภายในบ้านได้ในระดับหนึ่ง แต่ข้างนอกบ้านก็ยังดังอยู่ดีครับ แอบเป็นห่วงเพื่อนบ้าน กลัวเค้ารำคาญเอาได้

ราคาหลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ ราคาเมทัลชีทใครถูกแพงกว่ากัน

     ถ้านับกันเฉพาะตัวกระเบื้องนั้น ลอนคู่ถูกกว่าเมทัลชีทแน่นอน เพราะข้อดีของกระเบื้องก็คือเรื่องราคานี่แหละ แผ่นหนึ่งประมาณ 50-60 บาทก็ มี แต่ถ้าเทียบเหมารวมทั้งหมด ทั้งค่าวัสดุ ค่ากระเบื้อง ค่าแรง แล้วล่ะก็ราคาถือว่าพอๆกัน เมทัลชีทอาจจะสูงกว่านิดหน่อย แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญอะไรเท่าไร ราคาก็ตกอยู่ที่ 400-600 บาท/ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับรูปแบบลอนหลังคา และความยากกง่ายในการทำด้วยครับ

ความลาดชัน(สโลป)ของหลังคา

     กระบื้องลอนคู่ต้องทำสโลปไม่น้อยกว่า 15 องศา ขึ้นไป ไม่ อย่างนั้นจะมีปัญหาเรื่องน้ำไหลย้อน แต่เมทัลชีทสามารถทำสโลปได้น้อยกว่าคือที่ 5 องศา ถ้าพูดถึงเรื่องรูปแบบการดีไซน์แล้ว เมทัลชีทค่อนข้างจะยืดหยุ่นกว่า จะทำเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ก็อยู่ที่การดัดในตอนแรก แล้วก็เอามาแปะๆยิงๆเข้าไปแค่นี้ก็เสร็จแล้ว
      ก็ลองเปรียบเทียบกันดูระหว่างข้อดีและข้อเสียของกระเบื้องลอนคู่ กับ เมทัลชีท ว่าอันไหนดียังไง ด้อยยังไ

 

 

Page 5 of 8

ตัวแทนจำหน่ายหลังคาเมทัลชีท ตราสิงโต

  1. ร้านเงินวัสดุก่อสร้าง โทร.02-427-8770
  2. ชัยชนะวัสดุภัณฑ์     โทร.02-426-3973
  3. ร้านไทยเจริญ          โทร.02-415-3632
  4. บจก.กิจสินพัฒนา    โทร.02-415-2423
  5. บจก.ธีรฉัตรพร         โทร.081-3747955
  6. รุ่งเรืองท่าข้าม          โทร 02-047-0348
  7. เพชรสยามค้าวัสดุ     โทร.02-426-4304
  8. ธารศิริวัสดุภัณฑ์       โทร. 02-870-6469
  9. ซ เฮียไก๊                 โทร.02-426-4005
  10. บจก.เจริญมงคล      โทร.081-071-2989
  11. จอมทองค้าวัสดุ       โทร.092-735-0004
  12. ส.ไทยเจริญสินกม.19 โทร.02-427-2372
  13. หจก.สินทวีวัสดุภัณฑ์ โทร.02-871-7961
  14. บจก.เอ.พี.พัฒนา    โทร.083-287-5803
  15. สารอดเสาเข็มวัสดุ    โทร.02-427-4544
  16. โรแยลโฮม                 โทร.02-426-4788
  17. ฮาร์ดแวร์เฮาส์            โทร.02-707-2222
  18. บจก.โกลด์เบล         โทร.094-458-2999

 

รับสมัครตัวแทนจำหน่ายฟรี พร้อมการตลาดและค่าตอบแทน

 

Maethongbai Steel Co.,Ltd.

219  Soi Puttabucha 7/1 , Putthabucha Rd., Bangmod, Jomthong, Bangkok, Thailand 10150

Maethongbai Roof Co.,Ltd.

111 Chaloem Phra Kiat Thi 9 Soi 28 Rd., Nong Bon, Prawet, Bangkok 10250

Map

 

Telephone

Putthabucha factory

Tel:02-874- 1261 กด 1

Mobile:090-907-4439

Line : mtbmetalsheet

Mobile:092-280-5957

Line : @mtbssale1

Mobile:097-107-4475

Line : mtbssale2

Bangna factory

Tel: 02-1155-862

Mobile:097-047-1380

Line : mtbroof

Sales Project

Mobile:094-465-7575

Line: mtbproject

Solar Cell System

Mobile:063-867-7871

Line : mtbsolar

 

 

 

ผลงานประจำวัน

 
 

Products us

     Bolt System              Boltless System            Flashing                                                           Louver           Accessories & Fixtures       Awning

  - MTB24-760 BT (A)       - MTB 39-700 BL        - Ridge Cover                    - Top wall flashing        - Louver Type 300           - Roof Light        - Polycarbonate Twin wall

  - MTB24-760 BT (B)       - MTB 41-680 BL        - Gable Flashing                  - Corner Covering        - Louver Type 400           - Insulation         - Polycarbonate Solid sheet

  - MTB25-750 BT            - MTB110-650 BL        - Junction Flashing Type1    - Hip capping              - Louver Type 457           - Spandrel           - Polycarbonate Roof Lite

  - MTB30-720 BT            - MTB  60-750 BL        - Junction Flashing Type2                                    - Louver Type 600           - Scew

  - MTB38-750 BT                                            - Eave Flashing                   - End wall flashing

เธซเธฅเธฑเธ‡เธ„เธฒเน€เธซเธฅเน‡เธเน€เธกเธ—เธฑเธฅเธŠเธตเธ—.jpg
Metal Sheet
Solar-panel.jpg
แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel)
เธกเน‰เธงเธ™เธ„เธญเธขเธฅเนŒเน€เธซเธฅเน‡เธ.jpg
Coil
inverter.jpg
กริดไทอิเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter)
เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธซเธฅเธฑเธ‡เธ„เธฒ.jpg
accessory
package.jpg
โปรโมชั่น ระบบโซล่าเซลล์
Go to top